ราชวงศ์คอนสแตนติเนียน (ค.ศ. 306 - 363) ของ รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์

ดูเพิ่มเติมที่: ราชวงศ์คอนสแตนติเนียน
พระนามรัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 "มหาราช"
Constantine I "the Great"
(ภาษากรีก: Κωνσταντῖνος Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Gaius Flavius Valerius Aurelius Constantinus)
19 กันยายน ค.ศ. 324 –
22 พฤษภาคม ค.ศ. 337
(12 ปี 245 วัน)
ประสูติที่นาอิซซัสราวปีค.ศ. 273/4 เป็นพระโอรสในออกัสตัส จักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัสกับจักรพรรดินีเฮเลนา ทรงได้รับการประกาศเป็นออกัสตัสแห่งจักรวรรดิตะวันตกหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 พระองค์กลายเป็นพระประมุขแห่งจักรวรรดิตะวันตกแต่เพียงพระองค์เดียวหลังจากสมรภูมิสะพานมิลเวียนในปีค.ศ. 312 ในปีค.ศ. 324 พระองค์ทรงกำจัดออกัสตัสตะวันออก จักรพรรดิลิซิเนียสและทรงรวมจักรวรรดิเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวจนกระทั่งสวรรคต จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงเสร็จสิ้นการปฏิรูปทางการบริหารและกองทัพที่เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิไดโอคลีเชียน ผู้ทรงเริ่มต้นนำไปสู่สมัยแห่งการปกครอง จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสนพระทัยอย่างแข็งขันในศาสนาคริสต์ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการสร้างความเป็นคริสต์ในโลกโรมัน โดยผ่านการเรียกประชุมสังคายนาศาสนาครั้งแรกที่เมืองไนเซีย หรือ นิคาเอีย พระองค์ทรงเข้ารับบัพติศมาขณะทรงใกล้จะสวรรคตบนแท่นบรรทม พระองค์ยังทรงปฏิรูปการสร้างเหรียญโซลิดัสทองคำ และทรงริเริ่มการก่อสร้างขนาดใหญ่ ด้วยการสถาปนาเมืองบิแซนเทียมขึ้นมาอีกครั้งในฐานะ "โรมใหม่" ซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักในนามว่า คอนสแตนติโนเปิล พระองค์ได้รับการยกย่องจากจักรพรรดิไบแซนไทน์ในสมัยหลังในฐานะรูปแบบของผู้ปกครอง[5]
จักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2
Constantius II
(ภาษากรีก: Κωνστάντιος [Β'], ภาษาละติน: Flavius Iulius Constantius)
22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 –
5 ตุลาคม ค.ศ. 361
(24 ปี 136 วัน)
ประสูติในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 317 เป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 พระองค์ทรงได้รับมรดกเป็นดินแดนจักรวรรดิโรมันหลังพระราชบิดาสวรรคต และเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวในปีค.ศ. 353 หลังจากทรงโค่นล้มอำนาจมักเนนเทียส ผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์ทางตะวันตก รัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนเชียสมีกิจการทหารบริเวณชายแดนและความไม่ลงรอยระหว่างลัทธิเอเรียสที่จักรพรรดิทรงสนับสนุน กับผู้สนับสนุน "ออร์ทอดอกซ์"แห่งหลักข้อเชื่อไนซีน ในรัชสมัยของพระองค์ คอนสแตนติโนเปิลได้ถูกมอบสถานะที่เท่าเทียมกับโรม และมีการเริ่มสร้างฮายาโซฟีอาขึ้น จักรพรรดิคอนสแตนเชียสทรงแต่งตั้งคอนสแตนเชียส กัลลัสและจูเลียนขึ้นเป็นซีซาร์ และทรงสวรรคตระหว่างเดินทางไปเผชิญหน้ากับจูเลียน ผู้ซึ่งลุกขึ้นต่อต้านพระองค์[6]
จักรพรรดิคอนสแตนที่ 1
Constans I
(ภาษากรีก: Κώνστας Α', ภาษาละติน: Flavius Iulius Constans )
22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 –
มกราคม ค.ศ. 350
(12 ปี 223 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 323 เป็นพระโอรสองค์ที่สามในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงเป็นซีซาร์นับตั้งแต่ค.ศ. 333 พระองค์ได้รับมรดกเป็นดินแดนตอนกลางของจักรวรรดิโรมันหลังพระราชบิดาสวรรคต และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวทางฝั่งตะวันตกหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 2 ในปีค.ศ. 348 ด้วยการสนับสนุนอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย พระองค์ทรงต่อต้านลัทธิเอเรียส จักรพรรดิคอนสแตนทรงถูกลอบปลงพระชนม์ระหว่างการพยายามก่อรัฐประหารของมักเนนเทียส[7]
จักรพรรดิจูเลียน "เดอะอโพสเตท"
Julian "the Apostate"
(ภาษากรีก: Ἰουλιανὸς "ὁ Παραβάτης", ภาษาละติน: Flavius Claudius Iulianus )
5 ตุลาคม ค.ศ. 361 –
28 มิถุนายน ค.ศ. 363
(1 ปี 266 วัน)
ประสูติในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 332 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัส และเป็นพระญาติกับจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 ทรงประกาศโดยกองทัพของพระองค์ในกอลในฐานะจักรพรรดิที่ถูกต้องตามกฎหมายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนเชียส พระองค์สวรรคตในศึกสงครามกับจักรวรรดิแซสซานิด

ใกล้เคียง

รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ รายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี รายพระนามจักรพรรดิและพระมหากษัตริย์จีน รายพระนามฟาโรห์ รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทย รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา